13.11.51

Starry Night

 

ต่อไปนี้คือข้อมูลของ Vincent Van Gogh ที่นำมาจากเว็บ pakse

 

     
 
วินเซนต์ ฟานก็อก (Vincent Van Gogh) หรือ แวนโก๊ะ จิตกรแนวโพสท์อิมเพรสชั่น ชาวเนเธอแลนด์ เจ้าของผลงานที่มีชื่อเสียงอย่าง “Sunflowers” ซึ่งเป็นภาพที่ถูกประมูลขาย ในราคาที่แพงที่สุดในโลก (พ.ศ.2530) แวนโก๊ะ เกิดเมื่อวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ.2396
วินเซนต์ ฟานก็อก (Vincent Van Gogh) หรือ แวนโก๊ะ จิตกรแนวโพสท์อิมเพรสชั่น ชาวเนเธอแลนด์ เกิดเมื่อวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ.2396 ที่เมือง Zundert (ซอนเดิร์ท) พ่อของเขาเป็นบาทหลวง แวนโก๊ะ พยายามที่จะเป็นบาทหลวงเหมือนกับพ่อ แต่เป็นได้เพียงแค่นักเทศน์

(Vincent Van Gogh
ต่อมาในปี พ.ศ.2417 แวนโก๊ะเดินทางไปปารีส เพื่อทำงานที่หอศิลปะกูปีล แต่เมื่อมีปัญหากับเพื่อนร่วมงาน จึงจำเป็นต้องลาออก และย้ายไปที่เบลเยี่ยมในปี พ.ศ.2421 เพื่อเทศน์ให้กับพวกที่เหมืองถ่านหิน แถวเมืองโบรีนาจ แต่กลับถูกไล่ออกไปที่อื่น ในที่สุดเขาจึงเริ่มสนใจศิลปะ และการวาดภาพอย่างจริงจัง

Jean Francois Millet

โดยในปี พ.ศ.2423 แวนโก๊ะ เดินทางไปที่กรุงบรัสเซลล์ เพื่อลงทะเบียนเรียนที่สถาบันศิลปะ เมื่อจบแล้ว จึงเดินทางกลับบ้าน ต่อมาเขาเริ่มวาดภาพ โดยยึดแบบผลงานของยีน ฟรานซิส มิลเลต (Jean Francois Millet) ศิลปินที่โด่งดังมากในศตวรรษที่ 19 จนกระทั่งแวนโก๊ะ สามารถวาดภาพ "The Potato Eaters” ได้สำเร็จ ซึ่งได้แรงบันดาลใจ เรื่องชนชั้นกรรมมาชีพ มาจากมิลเลตนั่นเอง

ในปี พ.ศ.2428 เมื่อเขาย้ายมาอยู่ที่เมือง Antwerp แวนโก๊ะเริ่มสนใจ ภาพพิมพ์ญี่ปุ่น และสะสมอย่างจริงจัง กระทั่งย้ายกลับมาปารีส เขาก็ยังชื่นชมและยอมรับภาพพิมพ์ญี่ปุ่น ในการใช้สีเรียบและสดมาก ทำให้ผลงานของเขา ได้รับอิทธิพลจากภาพพิมพ์ญี่ปุ่นอย่างเห็นได้ชัด

The Potato Eaters

เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2429 หลังจากที่แวนโก๊ะเดินทางมาที่ปารีส ทำให้ได้พบกับผลงาน ที่เรียกว่าอิมเพรสชั่นนิสต์ (Impressionism) รวมทั้งผลงานของ Corot และ Daumier ที่หอศิลปกูปีล โดยในขณะนั้นธีโอ (Theo) น้องชายของเขา ได้ทำงานอยู่ที่นั่นด้วย ซึ่งน้อยชายผู้นี้เอง ที่เป็นผู้ส่งเสียแวนโก๊ะโดยตลอด ระหว่างที่อยู่ปารีส ทำให้แวนโก๊ะ มีโอกาสได้พบกับศิลปินแนวอิมเพรสชั่นนิสต์ ทั้ง Degas, Pissarro, Seurat, Gauguin นอกจากนี้ปีแอร์ แตงกี (Pere Tanguy) เจ้าของร้านขายภาพ ยังให้โอกาสเขา นำภาพเขียนมาแลกกับสี และผ้าใบ โดยผลงานของเขาได้แก่ ภาพดอกไม้ ภาพหุ่นนิ่ง และทิวทัศน์ จนกระทั่งในปี พ.ศ.2430 ผลงานของเขา มีโอกาสได้ออกแสดงในสำนักพิมพ์ "La Revue Independante" , ร้านอาหาร "La Fourche" และที่ห้องโถงโรงละคร "Theatre Libre"

เมื่ออยู่ปารีสได้ซักพักหนึ่ง เขาจึงย้ายไปอยู่ที่เมืองอาร์เล (Arles) ทางตอนใต้ของฝรั่งเศส ณ ที่แห่งนี้ แวนโก๊ะทุ่มเทให้กับการวาดภาพอย่างหนัก โดยเริ่มจากการใช้เส้นง่ายๆ ที่มีพลังในการวาด และใช้สีที่แสดงความรู้สึกอย่างมีความหมาย ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นภาพเกี่ยวกับธรรมชาติ ต่อมาในปี พ.ศ.2431เขาได้ชักชวนปอล โกแกง (Paul Gauguin) ศิลปินร่วมสมัยมาอยู่ด้วยกันที่บ้าน The Yellow House เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้กัน แต่เพียงไม่นาน ก็มีเรื่องต้องขัดเคืองกัน ถึงขนาดแวนโก๊ะ พยายามเอามีดโกนไล่กรีดโกแกง จากนั้นก็คลุ้มคลั่ง และใช้มีดโกนเชือดใบหูตนเองไปข้างหนึ่ง แล้วส่งเป็นของขวัญ ไปให้หญิงสาวที่ตนหลงใหล

จากนั้นแวนโก๊ะเริ่มมีสภาพจิตใจแย่ลง จนต้องไปรักษาอาการ ที่โรงพยาบาลแซนต์-เรมี (Saint – Remy) อย่างไรก็ตาม เขายังคงสามารถวาดรูปได้อยู่ อย่างเช่นภาพ ”Country Road by Night” ซึ่งเขียนขึ้นในเดือนมกราคม พ.ศ.2433 โดยเป็นภาพเขียนอีกภาพหนึ่ง ที่ได้ออกแสดงในกรุงบรัสเซลล์ และเรื่องราวเกี่ยวกับเขา ก็ได้ปรากฎในหนังสือ "Mercure de France" ต่อมาภาพของเขา ยังได้ออกโชว์ที่งานแสดงศิลปะอิสระ (Salon des Independants) ที่กรุงปารีสถึง 10 ภาพ

เมื่ออาการป่วยทางจิตของแวนโก๊ะเริ่มดีขึ้น จึงออกจากโรงพยาบาล และไปอยู่ภายใต้การดูแลของหมอกาเชท์ (Dr.Gachet) ซึ่งเป็นคุณหมอ นักสะสมภาพ และจิตรกรสมัครเล่น โดยเขาวาดรูปคนเหมือนของหมอกาเชท์ (Portrait of Dr. Gachet) ขึ้นเพื่อเป็นที่ระลึก (ในเวลาต่อมากลายเป็นภาพที่มีราคาแพงที่สุดในโลกมูลค่า 82.5 ล้านดอลลาร์) แต่ด้วยความเครียดหลายๆ อย่าง ทำให้เขาเกิดอาการคลุ้มคลั่งขึ้นมาอีก ถึงขนาดตัดสินใจฆ่าตัวตาย แต่ยังไม่เสียชีวิตในทันที กระทั่งวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ.2433 แวนโก๊ะจากโลกใบนี้ไป โดยมีภาพ "Wheatfields with Crows” เป็นผลงานชิ้นสุดท้าย

ในชีวิตของแวนโก๊ะ เขาสร้างสรรค์ผลงานไว้ราว 2,000 ชิ้น เป็นภาพสีน้ำมันราว 900 ภาพ ผลงานซึ่งเป็นที่รู้จักมากที่สุด ของแวนโก๊ะ คือ “Sunflowers” ปัจจุบันมีอยู่ 3 ภาพ นอกจากนี้เขายังมีภาพวาดอื่นๆ อีก เช่น Starry Night ,Bedroom at Arles, The night cafe , Van Gogh's Room at Arles, Entrance to the Public Garden in Arles , Landscape at Saint-Remy , Mountains at Saint-Remy เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น